กาแฟไทย

Dheva Farm & Specialty Coffee Lab กาแฟ เดวา กาแฟสาร สารกาแฟ กาแฟคั่ว

คำว่า กาแฟ”   มีปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์

ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2

416 ว่า “กาแฟ ต้นไม้อย่างหนึ่ง มาแต่เมืองนอก เม็ดมันต้มน้ำร้อนกินคล้ายใบชา”

มีบันทึกไว้ว่าเมืองไทยปลูกกาแฟมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ทว่าได้รับความนิยมในการดื่มในช่วงสมัย รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

โดยการนำเข้ามาของชาวต่างชาติ เช่น อังกฤษ ชาวดัตช์ ต่อมาในรัชกาลที่ 9  ช่วงปี 2515 – 2522 ได้มีโครงการในพระราชดำริให้ปลูกพืชทดแทนฝิ่นในเขตภาคเหนือ โดยใช้กาแฟสายพันธุ์อราบิก้า

และได้เริ่มในปี 2523  จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันกาแฟถือเป็นพืชเศรษฐกิจของโลก มีประเทศบาลซิล เป็นผู้ผลิตกาแฟได้มากที่สุด ( 17,000,000 ตัน  ค.ศ. 2008)  และมีเวียดนามเป็นผู้ผลิตเมล็ดโรบัสต้ารายใหญ่ของโลก

กาแฟถูกจัดอยู่ในจำพวกพืชเศรษฐกิจที่เป็นโภคภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด น้ำนม เนื้อสัตว์ เมล็ดกาแฟ เมล็ดฝ้าย น้ำตาล

สารบัญ กาแฟไทย

  1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
  2. สายพันธุ์กาแฟ
  3. การเลือกสถานเพาะปลูก
  4. การเตรียมพื้นที่ปลูก
  5. การเตรียมหลุม วิธีการปลูก
  6. การเพาะต้นกล้า
  7. การย้ายต้นกล้า
  8. การใส่ปุ๋ย

สนใจเลือกซื้อกาแฟคุณภาพของเรา

กาแฟสารดิบ กาแฟคั่ว

 

1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาแฟ

กาแฟมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า coffee  มีลักษณะเป็นไม้ทรงพุ่มขนาดประมาณ 3 ถึง 5 เมตร

ลำต้นโดยธรรมชาติแล้ว กาแฟมีลักษณะลำต้นตั้งตรง

ในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะไม่แตกกิ่ง แต่มีใบแตกออกตรงข้ออยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ

ต่อมาเมื่อมีการเจริญเติบโตขึ้น ก็มีการแตกกิ่งออกจากลำต้นในลักษณะที่แยกออกมาอยู่ตรงข้ามกัน

ถ้าหากต้นกาแฟไม่มีการตัดแต่งกิ่ง จะทำให้กาแฟเป็นทรงพุ่มทึบ เป็นที่สะสมของโลกแมลง และมีผลผลิตต่ำ

  • ดอก ดอกกาแฟมีสีขาวบริสุทธิ์กลิ่นคล้ายมะลิป่า ส่วนใหญ่ดอกกาแฟจะออกตามข้อของกินกาแฟ ยิ่งข้อสั้นจะสามารถเกิดดอกและติดผลได้มาก

ดอกกาแฟเป็นดอกสมบูรณ์มีทั้งเพศผู้และเพศเมียในดอกเดียวกัน การออกดอกของกาแฟจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ ถ้าในท้องถิ่นมีฝนตกเป็นฤดู ดอกจะออกหลังจากฝนตกประมาณ 1 เดือน

ถ้าหากอากาศชุ่มชื้นตลอดทั้งปีหรือมีน้ำเพียงพอ กาแฟจะออกตลอดทั้งปี

  • ผล การติดผลของกาแฟจะติดอยู่ที่ประมาณ 15 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ จากดอกที่ออกมาทั้งหมด โดยภายในกาแฟจะแบ่งเป็น 2 ส่วน

ในหนึ่งส่วนจะมีเมล็ดกาแฟอยู่ 1 เมล็ด  ซึ่งลักษณะแบนยาวไปตามรูปของเปลือกหุ้ม ถ้าหากมีเมล็ดใดที่ได้รับการผสมพันธุ์ไม่ดี เมล็ดที่เหลือจะมีลักษณะรูปร่างกลม

เรียกว่า พีเบอรี่ โดยมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 5-10%   เมล็ดที่สุกจะมีสีน้ำตาลปนแดง

  • เมล็ดกาแฟ เป็นส่วนที่อยู่ในกะลา ซึ่งห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆอีกชั้นหนึ่ง ส่วนเนื้อกาแฟที่ห่อหุ้มกะลา เมื่อสุกเต็มที่มีรสหวานเล็กน้อยและจะมีเมือกยางเหนียวๆ

ผลกาแฟเมื่อสุกเต็มที่ จะทกการปลอกเอาเปลือกและเนื้อทิ้ง เอาเมล็ดกาแฟทั้งกะลาไปตากแห้ง โดยจะสูญเสียน้ำหนักประมาณ 70% จากผลสด

และเมื่อกระเทาะเอาเปลือกและเนื้อทิ้ง นำกะลาไปตากแห้งจะเสียน้ำหนักไปอีกประมาณ 14-15 %

โดยเฉลี่ยการนำผลสดมาแปรรูปเป็นสารกาแฟจะสูญเสียน้ำหนักไปประมาณ 80% และหากนำกาแฟไปคั่ว จะเหลือน้ำหนักเพียง 13% ของจากเมล็ดกาแฟสดเท่านั้น

Dheva Farm & Specialty Coffee Lab กาแฟ เดวา กาแฟสาร สารกาแฟ กาแฟคั่ว

2. สายพันธุ์กาแฟ

ทั่วโลกมีกาแฟอยู่ประมาณ 50 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่นิยมคือ อราบิก้ ากับ โรบัสต้า ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

โดยอราบิก้าปลูกทางภาคเหนือ และ โรบัสต้าปลูกทางภาคใต้

  • พันธุ์อาราบิก้ามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Coffee arabica มีชื่ออื่นๆ เช่น กาแฟบราซิลเลี่ยน อารบิกัน เป็นกาแฟพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากที่สุดในโลก มีผลผลิตสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของกาแฟทั้งหมดในโลก

มีถิ่นกำเนิดที่เอธิโอเปีย โตได้ดีในอากาศค่อนข้างหนาวเย็น มีคุณภาพสูงทั้งกลิ่นและรสชาติ

  • กาแฟโรบัสต้ามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Coffee โรบัสต้า เป็นกาแฟที่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีมาก มีความทนทานต่อโรคและแมลงสูง

ปลูกได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 5300 ฟุต เป็นพันที่ต้องการความชุ่มชื้นและฝนตกสม่ำเสมอ เติบโตได้ดีทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง

มีผลผลิต มากกว่ากาแฟอาราบิก้า เล็กน้อย มีปริมาณการผลิต 1 ใน 4 ทั่วโลก

 

3. การเลือกสถานเพาะปลูกกาแฟ

กาแฟเป็นพืชในป่าชอบสภาวะแวดล้อมชุ่มชื้นและมีร่มเงา การนำกาแฟมาปลูกนั้น ควรปลูก ต้นไม้บังร่มเงาให้กาแฟด้วย

  • ดิน กาแฟสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ชอบดินที่มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ำได้ดี

ถ้าปลูกในที่น้ำขัง จะพบโรคใบเหลือง และรากเน่า และตายในที่สุด ดินที่กาแฟชอบที่สุดคือดินร่วน สีแดง เนื่องจากมีธาตุโปแตสเซียมสูง

เพราะกาแฟในช่วงติดผลจะต้องการแร่ธาตุนี้มาก สภาพดินมีความเป็นกลางหรือกรดเล็กน้อย pH อยู่ประมาณ 5.5 ถึง 6.5

  • อุณหภูมิ คือปัจจัยสำคัญตัวนึงในการทำกาแฟ เพราะกาแฟเป็นพืชที่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือหนาวจัด

ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากร้อนไปหนาวหรือหนาวหนาวไปร้อนอย่างเฉียบพลัน จะเป็นอันตรายอย่างมากถ้าต้นกาแฟ

ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยปลูกใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ โดยอาราบิก้า เติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 15-20 องศา

ส่วนโรบัสต้าเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิ 25 ถึง 32 องศา

  • ความชื้น กาแฟทุกชนิดมีความต้องการความชื้นจากอากาศสูงเกือบตลอดปี เว้นแต่ในฤดูที่จะออกดอกออกผลช่วงนี้กาแฟจะมีความต้องการความชื้นลดลง

เพื่อกระตุ้นการออกดอกและการสุกของผล โดยพันธุ์อาราบิก้าต้องการความชื้นในอากาศ ไม่เกิน 80% และโรบัสต้าต้องการความชื้นในอากาศ 90 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า

  • ปริมาณน้ำฝน ในพื้นที่ปลูกกาแฟต้องการฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1, 500 ถึง 2300 ml ช่วงเวลาที่ฝนตกควรติดต่อกันประมาณ 8-9 เดือน

สำหรับในสภาวะท้องที่ที่มีอากาศค่อนข้างหนาว และท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆตลอดเวลา

  • แสงแดด กาแฟแต่ละชนิด มีความทนทานต่อความแรงของแสงแดดต่างกัน ในสายพันธุ์โรบัสต้า สามารถทนแสงแดดและความแห้งแล้งได้มากกว่าพันธุ์อาราบิก้า

 

4. การเตรียมพื้นที่ปลูกกาแฟ

·      โดยการถางป่าและมีต้นไม้ใหญ่ไว้บังแดด

โดยการถางป่าให้มีต้นไม้ใหญ่เหลือไว้เป็นที่บังแดด การเตรียมพื้นที่แบบนี้ให้ดูระยะของต้นไม้ว่าต้นไม้ใดพอจะเก็บไว้เป็นที่บังแดดได้ก็ไม่ต้องโค่นทิ้ง

ส่วนต้นอื่นๆให้คนทิ้งไป สำหรับการเตรียมพื้นที่ด้วยวิธีนี้ไม่ค่อยนิยม เพราะไม่มีความเป็นระเบียบ และยากในการดูแลรักษา

·      โดยการถางป่าให้โล่งเตียนทั้งหมดทั้งแปลง

เป็นวิธีที่นิยมเพราะสามารถจัดระเบียบได้ง่ายและใช้เครื่องจักรเข้าไปช่วยทำงานได้โดยพื้นที่ที่มีความลาดเอียงเกิน 10% ควรจะทำเป็นขั้นบันไดก่อนปู

โดยมีความกว้างของขั้นบันไดประมาณ 1 เมตรห่างกันขั้นละ 2-3 เมตร และปลูกไม้บังแดดชั่วคราวหรือปลูกไปพร้อมกับกาแฟเลยก็ได้ ระยะการปลูก

สายพันธุ์อาราบิก้า ควรใช้ระยะ 2 คูณ 2 เมตร ส่วนสายพันธุ์โรบัสต้า ใช้ระยะ 3 x 3 เมตร เมื่อกาแฟมีอายุ 6-7 ปี หลังจากการปลูก ให้ตัดต้นนึงทิ้งไว้ต้นนึง

ระยะการปลูกก็จะกลายเป็น 6 * 6 เมตร จะทำให้กาแฟมีพุ่มใหญ่แต่ไม่สูงและสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว

5. การเตรียมหลุม วิธีการปลูกกาแฟ

  • การเตรียมหลุม ใช้หลุมขนาดความลึก 50 x 50 x 50 cm โดยขุดหลุมทิ้งไว้ก่อน 2 เดือน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ประมาณ 2 ปี๊บ และใช้ปุ๋ยฟอสเฟตประมาณ 200 กรัม
  • วิธีการปลูก นำต้นกล้าที่อยู่ในถุงพลาสติก ลงหลุมอย่างระมัดระวังอย่าให้รากแก้วคดงอ แล้วเอาดินใส่หลุมให้เต็มกดดินให้แน่น คลุมดินด้วยวัสดุป้องกันความชื้นสูญเสีย

จะใช้ใบไม้หรือทางมะพร้าวมาวางไว้ก่อนก็ได้ เพื่อให้ต้นกล้า ตั้งตัวได้ ถ้าพบว่ามีต้นกล้าตายก็ให้ปลูกซ่อมใหม่ ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม

ควรปลูกเมื่อย่างเข้าฤดูฝน เดือนพฤษภาคมเพราะจะทำให้ต้นกล้าที่ปลูกไปแล้ว มีโอกาสตายน้อยและตั้งตัวได้ดีก่อนจะถึงฤดูแล้งในปีถัดไป

 

6. การเพาะต้นกล้ากาแฟ

การเพาะเมล็ดกาแฟ ก่อนที่จะได้ต้นกล้ากาแฟไปปลูกนั้น ต้องมีการเตรียมเพาะเมล็ดไว้ก่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก

เพราะต้นกล้าที่สมบูรณ์และแข็งแรงเมื่อนำไปปลูกจะมีโอกาสตายน้อย โดยมีการเตรียมการดังนี้
การเลือกสถานที่ตั้งเรือนเพาะชำเมื่อเลือกสถานที่ได้เหมาะสมแล้ว

จะช่วยให้การดำเนินการได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและแรงงานและต้นทุน โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้

  • อยู่ใกล้แหล่งน้ำสะอาดและสามารถนำน้ำนั้นมาใช้ได้ในทันทีเพราะต้นกล้ากาแฟต้องการน้ำเป็นอย่างมาก
  • พื้นที่ควรจะราบเรียบสม่ำเสมอไม่ลาดเอียงเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในเวลาที่ฝนตก
  • ควรอยู่ในแหล่งที่สามารถจัดเตรียมหาวัสดุจำเป็นได้ง่ายและราคาถูก
  • สร้างร่มเงาหลังคาให้ต้นกล้าถ้าไม่สามารถทำได้ให้ใช้ร่มเงาของต้นไม้หรือในพื้นที่ร่มรำไร

 

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ เมล็ดกาแฟที่จะนำไปเพราะนั้นต้องมีการคัดเลือกพันธุ์โดยเลือกจากต้นที่มีอายุ 8-10 ปีที่

มีความเจริญเติบโตและแข็งแรงดีมีความทนทานต่อโรคและแมลงดี ให้ผลผลิตสม่ำเสมอและเมล็ดที่นำไปต้องสุกเต็มที่

การเตรียมเมล็ดไปเพาะนั้น ให้เอาเปลือกและเนื้อออกให้หมด แล้วนำแต่เมล็ดไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมง

เมื่อครบกำหนดให้ล้างเม็ดให้สะอาดแล้วนำไปผึ่งแดด 5-7 วัน แล้วจึงนำไปเพาะในแปลงเพาะชำต้นกล้าต่อไป

ถ้าเมล็ดที่เตรียมไว้สามารถไปปลูกได้ภายใน 7 วัน จะมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงถึงสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์

ในกรณีที่ไม่สามารถเพราะได้ในทันทีเมล็ดจะไม่ควรเก็บนานไม่เกิน 2 เดือน เพราะเปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลง

 

Dheva Farm & Specialty Coffee Lab กาแฟ เดวา กาแฟสาร สารกาแฟ กาแฟคั่ว

7. การเตรียมแปลงเพาะกาแฟ

การเตรียมแปลงเพาะ ในการเตรียมแปลงเพาะชำกล้ากาแฟ แปลงเพาะควรจะกว้างประมาณ 1 เมตรส่วนความยาวแล้วแต่สะดวก

ในการขุดดินให้ขุดลึกประมาณ 40 ถึง 50 1 เซนติเมตร ถ้าดินไม่สมบูรณ์ก็นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักไปผสม ยกลองให้สูงจากพื้นดิน 15 เซนติเมตร

ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตในอัตรา 150 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร ถ้าอยู่ในที่แจ้งควรทำร่มเงาให้แปลงเพาะ เพื่อที่จะลดความแรงของแสง

 

  • วิธีเพาะ หลังจากที่เตรียมแปลงเพาะชำกล้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำร่องสำหรับ หยอดเมล็ดกาแฟโดยห่างกันล่องละ 15 1 เซนติเมตร ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร

กลบดินหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร คลุมแปลงด้วยฟางข้าวหรือยังแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม แล้วรดน้ำต่อไปทุกๆวัน โดนมาแล้วจะเริ่มงอก ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อเมล็ดงอกให้เอาวัสดุคลุมแปลงออก

 

8. การย้ายต้นกล้ากาแฟ

ก่อนที่จะย้ายต้นกล้าเพื่อนำไปชำระ ต้องรดน้ำให้ดินเปียกชุ่ม แล้วถอนต้นกล้าอย่างระมัดระวังอย่าให้รากแก้วคดงอหรือขาด

เพราะจะทำให้ระบบรากไม่ดีกาแฟจะแคระแกรน สำหรับกล้ากาแฟที่จะย้ายชามแบ่งได้ 3 ระยะคือ

  • ระยะหัวไม้ขีด ระยะที่ต้นกล้ากาแฟเริ่มงอกแล้วแต่ยังไม่แตกใบมีลักษณะเป็นหัวไม้ขีดสูงไม่เกิน 2 นิ้ว
  • ระยะผีเสื้อ ระยะที่กล้ากาแฟเริ่มแตกใบและมียอดเล็กๆแต่ยังไม่มีใบจริง
  • ระยะใบจริง ระยะที่กล้ากาแฟมีใบจริงตั้งแต่ 1 ถึง 2 คู่

โดยระยะการย้ายชำต้นกล้าที่เหมาะสมที่สุดคือระยะหัวไม้ขีด

การย้ายต้นกล้ากาแฟจากแปลงเพาะชำนิยมกัน  คือ ย้ายต้นกล้าลงช้ำในถุงพลาสติก เป็นวิธีที่นิยมกันมากเพราะเมื่อนำไปปลูกในพื้นที่จริงจะมีเปอร์เซ็นต์การตายน้อย

Dheva Farm & Specialty Coffee Lab กาแฟ เดวา กาแฟสาร สารกาแฟ กาแฟคั่ว

9. การใส่ปุ๋ย

 

ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี  เพราะปุ๋ยอินทรีย์ที่ช่วยปรับโครงสร้างสภาพดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของกาแฟ

ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด โดยเฉพาะปุ๋ยหมักจากเปลือกกาแฟ เป็นการใช้ของเหลือให้เป็นประโยชน์

ควรใส่ปีละอย่างน้อย 4 ครั้ง ในอัตรา 2 ถึง 6 กิโลกรัมต่อต้น

 

  • ปุ๋ยเคมี ที่ช่วยเพิ่มผลิตของผลกาแฟให้สูงขึ้น ควรใส่ให้ตรงความต้องการของต้นกาแฟ
    • ปีที่ 1-2 ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 150 กรัม ผสมสูตร 46 0 0 อัตรา 50 กรัมรวม 200 กรัมต่อต้นแบ่งใส่ 2 ครั้งช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน
    • ปีที่ 3 ใส่สูตร 12-12-17 หรือ 13-13-21 อัตรา 6 ถึง 800 กรัมต่อต้นต่อปีแบ่งใส่ 2 ครั้งหลังดอกบานประมาณ 3 เดือนและ 6 เดือนซึ่งเป็นช่วงกาแฟติดดอก

เพราะต้องการโปแตสเซียมสูง ในช่วงต้นฝนควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อบำรุงดิน

  • หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งควรใส่สูตร 46-0-0 อัตรา 100 กรัมต่อต้นต่อปี
  • หลังตัดแต่งกิ่ง เมื่อดอกบานได้ประมาณ 3 เดือนและ 6 เดือนควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 600 ถึง 800 กรัมต่อต้นต่อปี
  • วิธีการใส่ปุ๋ย
    เนื่องจากช่วงเริ่มปลูกรากกาแฟจะกระจายอยู่ไม่ลึก จาก ผิวดิน
    จึงไม่ควรขุดโดยรอบโคนต้นเพราะอาจทำให้รากกาแฟเสียหายได้ แต่ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการกำจัดวัชพืชเสียก่อน

แล้วโรยปุ๋ยเป็นรัศมีวงกลมรอบต้น คลุมด้วยวัสดุคลุมดินเช่นหญ้าฟางข้าว เพื่อป้องกันปุ๋ยสูญหายโดยไร้ประโยชน์

ในกรณีที่ไร่กาแฟเป็นพื้นที่สูงชัน ให้ขุดหลุมไม่ลึกมากกระจายรอบรัศมีทรงพุ่มต้นกาแฟ ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วกลบ การใส่ปุ๋ยควรใส่ในช่วงที่ดีมีความชื้น หรือรดน้ำหลังใส่ปุ๋ย

 

9. การกำจัดวัชพืช

กาแฟควรได้รับการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอในฤดูฝน โดยเฉพาะหลังปลูกใหม่ช่วง 1-3 ปี เพราะต้นยังเล็กไม่สามารถเจริญเติบโตแข่งกับวัชพืชได้

โดยฐานรอบๆบริเวณสวนกาแฟ และทางให้สะอาดบริเวณโคนต้น การใส่ปุ๋ยเศษวัชพืชที่ทางออกสามารถนำมาเป็นวัสดุคลุมดินได้

การคลุมโคนต้นกาแฟ การคลุมโคนต้นกาแฟมีประโยชน์มากในช่วงที่สภาพอากาศแห้งแล้งซึ่งจะช่วยไม่ให้กาแฟทรุดโทรมหรือตายได้

เนื่องจากขาดความชื้นในดินและอากาศ นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันวัชพืช ที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย และสามารถป้องกันพังทลายของหน้าดินเมื่อฝนตกหนัก

โดยคลุมโอนให้ห่างจากต้นกาแฟประมาณ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช มีความหนาไม่ต่ำกว่า 10 เซน

Dheva Farm & Specialty Coffee Lab กาแฟ เดวา กาแฟสาร สารกาแฟ กาแฟคั่ว

10. การตัดแต่งกิ่ง

  • การตัดแต่งกิ่งที่ยังไม่ให้ผลผลิตแบ่งเป็น 2 วิธี
    • กาแฟที่ปลูกในร่มหลังจากการปลูกต้นสูงประมาณ 75% ควรตัดลำต้นออกให้เหลือแต่ตอสูงจากพื้น 30 เซนติเมตร

เพื่อให้มีลำต้นขึ้นมาอีก 2-3 ต้นเพื่อเพิ่มทรงพุ่มและผลผลิต

  • กาแฟที่ปลูกกลางแจ้งไม่ต้องตัดกิ่ง ควรปล่อยเป็นต้นเดี่ยวๆ
  • การตัดแต่งต้นที่ให้ผลผลิตแล้วแบ่งเป็น 2 วิธีคือ
    • กาแฟที่ปลูกมาแล้ว 2-3 ปีจะเริ่มให้ผลผลิต และกาแฟจะออกลูกตามข้อ และจะไม่ออกผลที่ข้อเดิม จากที่เคยออกไปแล้ว

พอผ่านไป 4-5 ปี ต้นกาแฟจะมีความสูงจนไม่สามารถเก็บผลผลิตจนยอดได้ จึงต้องทำการคิดยอดให้ต้นอยู่ในระดับที่คนงานสามารถทำงานได้สะดวก

และเป็นการบังคับให้กาแฟแตกออกข้างเพื่อผลิตผลผลิตใหม่ วิธีการนี้จะทำให้มีผลผลิตกาแฟเก็บได้ทุกปี

  • ต้นกาแฟที่ผ่านการคิดยอดมาแล้วและมีอายุประมาณ 7-8 ปีจะมีกิ่งแขนงเข้าข้างมากและต้นจะค่อนข้างโทรม

จึงต้องตัดออกทั้งต้นให้เหลือแต่ตอสูงประมาณ 45 cm ผ่านไปประมาณ 2 เดือนจะมีหน่อออกมา ให้เด็ดออกเหลือแต่หน่อที่สมบูรณ์และอยู่ตรงข้ามกันไว้ประมาณ 2 3 หน่อต้น

วิธีการนี้เรียกว่าทำสาวต้นกาแฟ หลังจากตัดแต่งไปแล้วประมาณ 2 ปีจะให้ผลผลิต

11. วิธีการเก็บเกี่ยว

กาแฟจะให้ผลผลิตหลังจากการปลูกประมาณ 2-3 ปี ในประเทศไทยกาแฟจะสุกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน

โดยผลกาแฟจะสุกไม่พร้อมกันจะทยอยสุก ควรแบ่งรอบการเก็บเป็นรุ่นๆอย่างน้อย 3 รุ่นเว้นระยะประมาณ 20 วันต่อครั้ง

ในการเก็บผลกาแฟควรเก็บทีละผลโดยเฉพาะผลที่สุดในแต่ละข้อ จะสามารถควบคุมคุณภาพของกาแฟได้ดีที่สุด

ควรเก็บผลที่สุก 90-100 เปอร์เซ็นต์คือมีสีแดงเกือบทั่วทั้งผล หรือผลที่มีสีเหลืองเกือบทั้งผลในสายพันธุ์ที่เป็นสีเหลือง

การเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุดคือการเก็บด้วยมือ หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วให้นำผลกาแฟไปสีสดโดยเร็วที่สุด

ในช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์จะมีผลผลิตกาแฟมากที่สุด

Dheva Farm & Specialty Coffee Lab กาแฟ เดวา กาแฟสาร สารกาแฟ กาแฟคั่ว

 

อ้างอิงข้อมูล : หนังสือกาแฟ ฐานเกษตรกร (เฉพาะกิจ 22)

อ้างอิงข้อมูล : การปลูกและดูแลรักษาต้นกาแฟอาราบิก้า  กรมส่งเสริมการเกษตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *